วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปแพ่ง ที่งอก ม.๑๓๐๗


มาตรา ๑๓๐๗ ที่ดินแปลงใดเกิด[1]ที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น


[1] ที่งอกริมตลิ่ง  ๑. ที่งอกริมตลิ่งหมายถึง ต้องเป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และต้องงอกไปจากชายตลิ่ง  ที่งอกตามธรรมชาติไม่ใช่ที่ซึ่งถมขึ้นในชายทะเล (ฎ.๙๒๔/๐๑)ร่องน้ำสาธารณะตื้นเขินเนื่องจากประชาชนนำสิ่งของไปทิ้ง มิใช่ที่งอกริมตลิ่ง (ฎ.๒๓๙๓/๒๓)
๒. ที่งอกริมตลิ่งงอกจากทางสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่งอกริมตลิ่งไม่ได้ แม้จำเลยทำสัญญาเช่าที่งอกริมตลิ่งจากโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่า สัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่งอกริมตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(ฎ.๒๓๙๒/๒๓)หรือหนองน้ำสาธารณะกลายสภาพเป็นที่ตื้นเขินทั้งแปลง แม้ต่อมาพลเมืองไม่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่โจทก์เข้าทำนาผู้เดียวหากยังไม่มี พรฎ.ถอนสภาพ ยังคงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้โจทก์ครอบครองเกิน ๑๐ ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ (ฎ.๑๙๕/๒๓)ท้องน้ำตื้นเขินจนติดกับที่ดินที่อยู่ริมตลิ่ง ไม่ใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งไม่ที่งอกริมตลิ่ง ไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินริมตลิ่งนั้น(๗๔๓๕/๔๐)
๓. ที่ดินที่งอกมาจากที่ดินมีโฉนด ที่งอกเป็นที่ดินมีโฉนดด้วย เป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การซื้อขายที่ดินแม้จะเป็นการซื้อขายเฉพาะส่วนที่เป็นที่งอก ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ปพพ.๔๕๖ วรรคหนึ่งด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะ(ฎ.๑๘๖๐/๓๙) 
กรณีที่งอกจากทางสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นของแผ่นดิน , การเกิดที่งอกริมตลิ่งเจ้าของได้นำไปออกโฉนดระหว่างนั้นได้ขายให้ผู้ซื้อ เมื่อโฉนดออกแล้วได้นำไปขายส่วนที่งอกให้บุคคลอื่น ผู้ซื้อกับบุคคลอื่นใครมีสิทธิดีกว่ากัน ตอบผู้ซื้อตามหลักมาตรา ๑๓๐๘ เมื่อผู้ขายไม่เป็นเจ้าของไม่มีสิทธิขาย บุคคลอื่นไม่ได้สิทธิตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน , ที่ดินมีสิทธิครอบครองที่งอกก็เป็นสิทธิครอบครอง เข้าหลักการครอบครองผลคือ อาจโอนโดยการส่งมอบ และ เมื่อมีผู้ฟ้องเรียกคืนต้องฟ้องภายใต้บังคับม.๑๓๗๕(ภายใน๑ปี),เกิดที่งอกริมตลิ่งแต่ทางสาธารณะคั่นอยู่ ไม่ตกเป็นของเจ้าของแผ่นดินแต่ถือเป็นที่สาธารณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น