วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลักแพ่ง ม.๑๓๐๔-๑๓๐๗


มาตรา ๑๓๐๔ [1]สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดิน     ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
             (ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับ มาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน
             (ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่งทางน้ำ   ทางหลวง ทะเลสาบ
             (ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ   เป็นต้นว่า   ป้อม และโรงทหาร      สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
             มาตรา ๑๓๐๕ ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะ[2]โอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
             มาตรา ๑๓๐๖ ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
             มาตรา ๑๓๐๗ ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้น จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่


[1] ๑. ที่ราชพัสดุกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ปพพ.๑๓๐๔(๒)(๓) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อเทศบาลที่ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ใช้ประโยชน์มีหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยไม่ออกเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลโดยปกติสุขมีความผิดตาม ปอ.๓๖๕(๓) ประกอบมาตรา ๓๖๒ (ฎ.๗๗๔๒/๔๘)
๒.การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะ
๒.๑ ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีที่แสดงเจตนาอุทิศ ไม่ต้องจดทะเบียนโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ปพพ.๕๒๕ และไม่ต้องมีนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีแสดงเจตนารับ (ฎ.๔๓๗๗/๔๙) แม้หนังสืออุทิศระบุว่าจะไปจดทะเบียนก็ตาม(ฎ.๑๑๒/๓๙) 
๒.๒ ศาลจะบังคับให้ผู้อุทิศไปจดทะเบียนโอนก็ไม่ได้ แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องเพราะการจดทะเบียนเป็นทางสาธารณะเป็นอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานที่จะดำเนินการ ศาลจึงไม่อาจบังคับให้เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่คู่ความจดทะเบียนที่ดินเป็นทางสาธารณะ(ฎ.๕๗๒๗/๓๗) 
๒.๓ การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอาจกระทำโดยปริยาย เช่นให้ประชาชนใช้สอยได้โดยไม่หวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลสาธารณสมบัติของแผ่นดินยังไม่ได้ทำถนนในที่ดินพิพาทและผู้อุทิศขอออก น.ส.๓ ที่ดินพิพาทในนามของตนเองอีก ไม่ทำให้ที่ดินกลับมาเป็นของผู้อุทิศ ผู้อุทิศโอนให้คนอื่น คนอื่นก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ (ฎ.๓๘๐๘/๓๕) หรือการที่ผู้จัดสรรที่ดินขายโดยกันพื้นที่ส่วนเป็นซอยไว้เป็นทางสาธารณะ แม้เป็นซอยตันแต่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยใช้ทางดังกล่าวผ่านอีกซอยหนึ่งสู่ถนนสาธารณะ ถือว่าอุทิศทั้งซอยเป็นทางสาธารณะ ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามปพพ.๑๓๐๔(๒)แต่ถ้าประชาชนใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะไม่เป็นการอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ(ฎ.๓๖๓/๔๒)
๒.๔ อุทิศที่ดินให้ขุดเป็นสระน้ำประจำหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา ๑๓๐๔(๒) ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่แสดงเจตนาอุทิศให้ก็ใช้ได้ แม้ต่อมาสระน้ำตื้นเขินจนไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีการถมสระน้ำปลูกสร้างร้านค้ากับทำสนามเด็กเล่น ที่ดินพิพาทยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม หาได้เปลี่ยนสภาพเป็นอย่างอื่นไม่(ฎ.๘๐๑๔/๕๑)
๒.๕ การยกที่ดินให้เพื่อประโยชน์ของสุขาภิบาลโดยเฉพาะเพื่อหาประโยชน์มาปรับปรุงท้องที่ มิใช่ยกให้เพื่อสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินตาม ปพพ.๑๓๐๔ เมื่อการให้ไม่จดทะเบียนตาม ปพพ. ๕๒๕ ไม่สมบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของโจทก์(ฎ.๒๑๙๕/๒๒)
๓) ผลการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
๓.๑ ผู้ซื้อที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จะซื้อโดยสุจริต(ฎ.๓๗๗๒-๕/๔๕)หรือจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง(ฎ.๒๗๗๕/๔๑)
๓.๒ ทรัพย์ใดเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วต้องเป็นตลอดไป แม้ต่อมาพลเมืองจะเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้วก็ตาม เมื่อยังไม่มีกฎหมายหรือ พรฎ.ให้ถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม (ฎ.๒๕๐๒/๓๓)

[2] การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะ ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันทีที่แสดงเจตนาอุทิศ ไม่จำต้องจดทะเบียนโอน ทั้งไม่ต้องผู้ไปแสดงเจตนารับ  ,การจดทะเบียนเป็นทางสาธารณะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลไม่อาจสั่งบังคับให้เจ้าหน้าที่ไปจดทะเบียนเป็นทางสาธารณะได้,ที่ดินของราษฎร ภายหลังถูกน้ำกัดเซาะกลายเป็นชายตลิ่ง แต่เจ้าของที่ดินยังครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ มิได้ทอดทิ้งให้พลเมืองใช้ร่วมกัน ไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน(ยังคงสงวนสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ มิได้ปล่อยทิ้งให้เป็นที่ชายตลิ่งให้ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน) ,สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองนั้นหมายถึง ใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ แต่ระหว่างเอกชนด้วยกันยันกันเองได้ โดยถือหลักว่าผู้ที่ยึดถือการครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า เช่นก.ครอบครองที่พิพาทอันเป็นสาธารณประโยชน์ ข.เข้าไปไถ่ที่พิพาท ก.ย่อมมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเข้ารบกวน แต่หากนำที่ดินดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าถือว่าผู้ให้เช่าขากการยึดถือครอบครองแล้ว(ผู้ยึดถือครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะหวงกันผู้อื่นได้แต่ขณะที่ตนยังยึดถือครอบครองอยู่เท่านั้น) ,แต่ปลูกบ้านบนที่ดินสาธารณประโยชน์ แล้วให้เช่าผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดถือและใช้สอย ,ผู้ครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น หากเป็นตามวัตถุประสงค์ยกยันไม่ได้ เช่น ครอบครองหนองน้ำเพื่อประโยชน์ในการจับปลา เข้าหวงกันไม่ให้ใช้น้ำหรือจับปลาไม่ได้(ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้) , ฎีกายกเว้น การแสดงเจตนายกที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นโมฆะศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการให้แล้วให้โอนกลับคืนมาเป็นของผู้ให้ได้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๓๐๕ เช่นที่ดินไม่เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ ๑ ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ ๑ ยกที่ดินซึ่งมีที่พิพาทรวมอยู่ด้วยเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินแก่ กทม. จำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๑ สำคัญผิดในทรัพย์สินในวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินให้โจทก์แล้ว คงเหลือส่วนที่เป็นถนน การแสดงเจตนาของจำเลยที่ ๑ เป็นโมฆะตาม ปพพ.๑๕๖ ที่ดินพิพาทไม่เคยตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน ไม่ต้องด้วย ปพพ.๑๓๐๕ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่พิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่าง ล.๑ และ ๒ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๖๕ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย(๖๘๐๙/๔๑)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น